วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556

นวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย
          นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การทำสิ่งต่าง ๆ  ด้วยวิธีใหม่ๆ หรือการนำสิ่งเก่า สิ่งที่มีอยู่แล้ว มาพัฒนา มาปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม
ชื่อนวัตกรรม    เกมการศึกษา จับคู่ภาพ
ชื่อผู้สร้าง          นางเพ็ญธิดา   ไตรพิพัฒน์    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปางลับแล
                        สังกัด องค์การบริหารส่วนตำบลสักงาม      อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
                        โทรศัพท์ 089-8567821
อธิบายนวัตถรรม
            เกมการศึกษาเป็นกิจกรรมการเล่น หรือการแข่งขัน เพื่อการเรียนรู้ มีกำหนดจุดมุ่งหมา กฎเกณฑ์กติกา ผู้เล่น วิธีการเล่น การตัดสินผลการเล่นเป็นแพ้หรือชนะการนำเกมมาประกอบการสอน จะช่วยให้ห้องเรียนมีชีวิตชีวา บทเรียนนั้น ๆ  น่าสนใจไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ก่อให้เกิดความสนุกสาน เพลิดเพลินนักเรียนมีโอกาสใช้ปฏิภาณไหวพริบของตน สามารถจดจำบทเรียนได้ง่าย เร็ว และจำได้นาน นอกจากนี้การที่เด็กได้เล่นเกมจะได้ความรู้ทางวิชาการ และยังช่วยพัฒนาสติปัญญาตลอดจนความเจริญเติบโตของร่างกายด้วย
แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่ใช้
          แนวคิดของ ฌอง เพียเจท์ <Jean Piaget 1896 – 1980> นักจิตวิทยาชาวสวิต ที่ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการคิดและการเรียนรู้ของเด็กและได้เสนอทฤษฎีทางสติปัญญาที่แสดงถึงขั้นพัฒนาการของการคิดและสติปัญญา ซึ่งจะมีความต่อเนื่องกันในแต่ละขั้นพัฒนาการ เพียเจท์ได้สรุปแนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาว่า กระบวนการพัฒนาทางสติปัญญาเป็นผลจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบทั้งสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทางสังคม วัฒนธรรมและบุคคล การปฏิสัมพันธ์นี้ทำให้สร้างเป็นความรู้ความเข้าใจที่มีสิ่งต่างๆ
            นอกจากนี้ เพียเจท์ ได้กล่าวเอาไว้ว่า การเล่นมีความสำคัญต่อการพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก จากการเล่น เด็กจะสามารถแยกแยะสิ่งต่างๆ จากสิ่งเร้าได้ และขณะที่เด็กตอบสนองสิ่งเร้าเด็กจะรับรู้สิ่งต่างๆ เข้ามาในสมอง และกิจกรรมเกมการศึกษาก็เป็นกิจกรรมการเล่นอย่างหนึ่งที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญาได้เช่นกัน

วัตถุประสงค์ของการทำนวัตกรรม
1.  เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ได้รู้จักสังเกต และรู้จักการแก้ปัญหา
2.  เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมได้อย่างทั่วถึง
3.  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน และเพลิดเพลินในการทำกิจกรรม
4.  เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมือและประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
5. ส่งเสริมให้มีคุณธรรมในด้านความอดทนการรอคอย ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความรับผิดชอบ







 ลำดับขั้นตอนกิจกรรมการพัฒนา

      ขั้นนำ
         นำเข้าสู่กิจกรรมด้วยการร้องเพลง การทำท่าทาง การท่องคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย หรือการใช้สื่อประกอบ
     ขั้นสอน
1. ครูนำรูปภาพสิ่งที่อยู่รอบ ๆ  ตัวนักเรียน เช่น สัตว์  ผลไม้  และยานพาหนะ
2. ครูอธิบายวิธีการเล่นเกมการศึกษา จับคู่ภาพต่าง ๆ  และยกตัวอย่างวิธีการเล่น
3. ครูให้นักเรียนเลือกภาพที่นักเรียนสนใจมากลุ่มละ  2 ภาพ
4. ครูให้นักเรียนเล่นเกมจับคู่ภาพตามเวลาที่ครูกำหนดให้
5. เมื่อนักเรียนเล่นเกมจับคู่ภาพเสร็จแล้วครูผู้สอนสังเกตและตรวจความถูกต้อง











 ขั้นสรุป
          1 .เด็กและครูร่วมกันสนทนาซักถามถึงกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติ
          2. ในขณะที่ดำเนินกิจกรรมในขั้นสรุปครูมีบทบาทสังเกต การตอบคำถาม การพบประ    พูดคุยและการเขียนบันทึกเหตุการณ์ เก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องและนำผลที่ได้มาสะท้อนในการปรับบทบาทครู บทบาทเด็ก และปรับกิจกรรมเพื่อให้มีความเหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก


 ผลการดำเนินงาน
         1. นักเรียนมีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาที่ดีขึ้น รู้จักการสังเกตและการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
         2. นักเรียนมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมือและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาที่ดีขึ้น
         3. นักเรียนเกิดความเพลิดเพลินและผ่อนคลายความตึงเครียดในการเรียน